top of page

แนวทางการแก้ไขปัญหา

           แนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องคุณภาพของครูในปัจจุบันของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการ ดังนี้

              การปฏิรูปการผลิตครูและสถาบันผลิตครู โดยกำหนดนโยบายการผลิตครูให้ชัดเจนด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์การปฏิรูปครูและบุคลากรทางการศึกษา (2547-2556) และการผลิตครูแนวใหม่หลักสูตร 5 ปี ใน 8 สาขา โดยเริ่มรุ่นแรกในปี 2547

            ส่วนการปฏิรูปสถาบันผลิตครู  ได้มีการปฏิรูปคุณภาพคณาจารย์ในสถาบันผลิตครู การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับความเป็นเลิศทางครุศาสตร์และศึกษาศาสตร์และการปฏิรูปโครงสร้างการบริหารงานและประกันคุณภาพสถาบันฝึกหัดครู

            3.3.1.2. การพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา  โดยจัดตั้งสถาบันพัฒนาและส่งเสริมครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาครู ฯ ดำเนินการพัฒนาครู ฯ รวมถึงการยกย่องครู ฯ ที่มีผลงานดีเด่น

             3.3.1.3. การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ และการควบคุมการประกอบวิชาชีพ ได้แก่การจัดตั้งองค์กรวิชาชีพครู การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู  การส่งเสริม และยกย่องผู้ประกอบวิชาชีพ และการควบคุมการประกอบวิชาชีพ 

              แนวทางในการเยียวยาเรื่องหนี้สินครูกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมมือกับธนาคาร

                ออมสินอนุมัติเงินกู้จำนวนทั้งหมด 8 พันล้านบาทเพื่อดูแลครูที่มีปัญหาวิกฤติจริงๆ และได้กำหนดแนวทางการแก้ปัญหาเพิ่มเติม ดังนี้ การเปิดคลีนิคทางการเงินเพื่อให้คำแนะนำเรื่องการออมเงินและการปรับสภาพหนี้  เพื่อให้บริการคำแนะนำเรื่องปัญหาหนี้สินของครู  จัดโครงการสัมมนาแก่ครูทั่วประเทศเพื่อให้ความรู้ และจัดทำคู่มือเกี่ยวกับคำถาม-ตอบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 
 

                   สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหาเรื่องการขาดแคลนครู

                การจัดทำโครงการครูสหกิจ โดยให้นักศึกษาครูในหลักสูตร 5 ปี ได้ฝึกสอนในโรงเรียนที่ขาดครูโดยมีค่าเบี้ยเลี้ยงตอบแทน  จัดให้ครูที่สอนไม่ตรงคุณวุฒิได้อบรมด้านการศึกษาเพิ่มเติม ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนในโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่โดยพัฒนาการสอนในชั้นเรียนขนาดใหญ่ขึ้น พร้อมนำสื่อเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ เช่น  e-learning และ multi media และนโยบายรวมโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คนเข้าด้วยกันเพื่อให้มีครูครบ  8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมถึงประหยัดครูและงบประมาณด้วย   

เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ

ประเด็นการศึกษา ปัญหา: ข้ามวัฒนธรรม ไร้พรหมแดน เครือข่ายต่อเนื่อง

 

bottom of page