top of page

ผลกระทบด้านบวก

 

              การเกิดปํญหาการศึกษาไทยทำให้ทุกภาคส่วนเข้ามาใส่ใจสถาบันการศึกษามากขึ้น หลังจากที่ละเลยและมอบให้รัฐเป็นผู้จัดการแต่เพียงผู้เดียว ในปัจจุบันภาคเอกชนให้ความสำคัญกับการศึกษามากขึ้น มีการส่งเสริม เสนอแนะให้กับภาครัฐมากขึ้น ทำให้การพัฒนาการศึกษาในปัจจุบันมีโอกาสพัฒนามากกว่าในอดีต

ผลกระทบด้านลบ

                 ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเกิดจากเรื่องของการศึกษาของไทยที่มีปัญหาได้ส่งผลกระทบเชื่อมโยงไปยังภาคเศรษฐกิจ เพราะปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยอยู่ในภาวะล้มเหลว สะท้อนได้จากผลสอบวัดความรู้ของเด็ก ในระดับการศึกษาสามัญคะแนนของเด็กตกต่ำลงเรื่อย ๆ  ขณะเดียวกัน งบประมาณด้านการศึกษาของไทย ใช้เงินมหาศาลถึง 500,000 ล้านบาทต่อปี แต่ไม่ได้ยกระดับการศึกษาให้ดีขึ้น เนื่องจากประเทศไทย เน้นการลงทุนนอกภาคการศึกษามากกว่าเรื่องเรียน ซึ่งแท้ที่จริงใช้เงินเพียงแค่ไม่กี่หมื่นล้านบาท นอกจากนี้ ด้านบุคลากรครูก็ให้ความสำคัญกับเรื่องรายได้มากกว่าผลสัมฤทธิ์ของเด็กนักเรียน จึงทำให้ระบบการศึกษาไทยไม่ดีขึ้นทำให้ภาครัฐสูญเสียงบประมาณโดยไม่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ใดๆ  และก่อให้เกิดอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น เพราะสถาบันศึกษาไม่มีคุณภาพ และผู้เรียนไม่มีประสิทธิภาพสมกับที่จบจากวุฒิที่เรียนมา ทำให้เมื่อเรียนจบจึงหางานทำไม่ได้ เพราะผู้ว่าจ้างรู้ถึงความไม่มีประสิทธิภาพของผู้มาสมัครงาน

             ประเด็นหลักคือ ปัจจุบันเป็นยุคการเปิดอาเซียน การศึกษาไทยล้มเหลวเช่นนี้ทำให้คนไทยเสียโอกาสในการทำงานแข่งขันกับชาติอื่นๆ และจะส่งผลให้ประเทศไทยพัฒนาช้ากว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน

เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ

ประเด็นการศึกษา ปัญหา: ข้ามวัฒนธรรม ไร้พรหมแดน เครือข่ายต่อเนื่อง

 

bottom of page