top of page

ปัญหาการศึกษาไทย

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
 

        การบริหารกิจการใด ๆ ที่เกี่ยวกับสาธารณะในยุคโลกาภิวัตน์ มีความจำเป็นต้อง

อาศัยผู้บริหารมืออาชีพ จึงจะทำให้ธุรกิจต่างๆเหล่านั้นดำเนินการไปด้วยดีและบรรลุจุดมุ่งหมาย

ที่กำหนดไว้ ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเป็น

ไปอย่างรวดเร็ว อย่างไร้พรมแดน และกระทบกระเทือนไปทุกประเทศทั่วโลก

ในด้านการจัดการศึกษาก็ไม่มีเว้น มีความจำเป็นต้องอาศัยผู้บริหารการศึกษาและ

ผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ จึงจะทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาประสบความสำเร็จและ

เป็นไปตามแนวทางที่พึงประสงค์

        การเปลี่ยนแปลงในด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว และ

ตลอดเวลา ซึ่งก่อให้เกิดความสลับซับซ้อนและปัญหาอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จำเป็นต้องอาศัยผู้นำที่มี

วิสัยทัศน์ ความรู้ ความสามารถ และมีคุณธรรมในการดำเนินการ จึงจะทำให้องค์กรประสบความ

สำเร็จตามความมุ่งหมายที่คาดไว้

        แม้ว่าการศึกษาของไทยจะได้เริ่มเป็นจริงเป็นจัง และกว้างขวางขึ้นมาเป็นเวลานาน

พอสมควร และได้รับการพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขมาตลอด แต่ยังมีปัญหาอุปสรรคในการจัด

การศึกษา และการบริหารการศึกษาหลายประการ กล่าวคือ

        1.1) คุณภาพการจัดการศึกษายังไม่เป็นที่น่าพอใจ ที่พอจะสู้ประเทศอื่นในเวทีโลกได้

        1.2) การบริหารการศึกษาและการจัดการศึกษายังรวมศูนย์อำนาจไว้ส่วนกลาง กอปรทั้ง

ขาดเอกภาพ ทั้งด้านนโยบายและมาตรฐาน

        1.3) การขาดประสิทธิภาพของการประกันคุณภาพการศึกษา

        1.4) การขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน

        1.5) การขาดการพัฒนานโยบายอย่างต่อเนื่อง

        1.6) การขาดความเชื่อมโยงกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชน

        การปฏิรูปการศึกษาตามแนวทางและสาระสำคัญใน พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 จะประสบความสำเร็จ ย่อมต้องอาศัยองค์กรและบุคคลหลายฝ่าย โดยเฉพาะองค์กรปฏิบัติ ได้แก่สถานศึกษาระดับต่างๆ ซึ่งย่อมต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม ตลอดทั้งการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพเป็นอย่างดี

        องค์ประกอบหลักเบื้องต้นที่สำคัญอย่างหนึ่งของบุคลากรทางการศึกษาก็คือ เจตคติที่ดีการให้ความสำคัญและการยอมรับในสาระสำคัญที่กำหนดไว้ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริงต่อไป

        เท่าที่ผ่านมาหน่วยงานทางการศึกษา ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (สกศ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และทบวงมหาวิทยาลัย (ทม.) ได้พยายามแก้ไข ปรับปรุงและปฏิรูปการศึกษา เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จนักเพราะใช้เฉพาะแผนการศึกษาแห่งชาติที่ออกประกาศเป็นระยะๆ เป็นหลัก ซึ่งไม่มีผลบังคับได้เต็มที่พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาทุกระดับ โดยปฏิรูปทั้งกระบวนการเรียนรู้และโครงสร้างระบบบริหารการศึกษาการปฏิรูปการศึกษาจะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการศึกษาและประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งต้องมีทั้งความรู้ ความชำนาญ และคุณธรรมจริยธรรมในการปฏิบัติงาน

ในหมวด 7 ที่ว่าด้วยครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาเป็นหมวดที่มีความ

สำคัญยิ่งหมวดหนึ่ง เพราะมีสาระสำคัญหลายประการคือ

        1) ให้กระทรวงส่งเสริมให้มีระบบ กระบวนการผลิต และพัฒนาครู คณาจารย์ และ

บุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง โดยรัฐจัด

สรรงบประมาณ และกองทุนพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเพียงพอ

        2) ให้มีกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน ค่าตอบแทน สวัสดิการสำหรับข้าราชการครู และ

บุคลากรทางการศึกษา

        3) ให้มีองค์กรวิชาชีพครู ผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เป็นองค์กร

อิสระ มีอำนาจหน้าที่ใน 3 เรื่อง คือ

                 (1) กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ

                 (2) ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ

                 (3) กำกับ ดูแล การปฏิบัติตามมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพ 

เว็บไซต์นี้ จัดทำโดย นักศึกษา สาขาสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เป็นส่วนหนึ่ง ของการศึกษารายวิชา GES2203 ความรู้เท่าทันสารสนเทศ

ประเด็นการศึกษา ปัญหา: ข้ามวัฒนธรรม ไร้พรหมแดน เครือข่ายต่อเนื่อง

 

bottom of page